ปราสาทเก่าแก่แห่งเมืองสุรินทร์ที่ต้องไม่พลาดมาชมความงามกันสักครั้ง
สันนิษฐานจากลวดลายที่เสาและทับหลังของปรางค์ประธานและปรางค์บริวารทั้ง 4 องค์ว่าสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1550 – 1700 มีลักษณะผสมผสานกันระหว่างศิลปะขอมแบบปาปวนและแบบนครวัด เพื่อใช้เป็นศาสนสถานของศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย และต่อมามีการดัดแปลงให้เป็นวัดในพุทธศาสนาตาม ที่มีหลักฐานการบูรณะปฏิสังขรณ์ในราวพุทธศตวรรษที่ 22 – 23
ในสมัยอยุธยาตอนปลายปราสาทศีขรภูมิสร้างด้วยอิฐ หิน ทราย และศิลาแลง ประกอบด้วยปรางค์ก่ออิฐ 5 องค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยมีปรางค์ประธานตั้งอยู่ตรงกลาง
ปรางค์ประธานมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม่มีมุข มีประตูทางเข้าเพียงด้านเดียว ทับหลังประตูจำหลักเป็นภาพศิวนาฏราชบนแท่น มีหงส์แบก 3 ตัว อยู่เหนือเศียรเกียรติมุข มีภาพพระพิฆเณศ พระพรหม พระวิษณุ และนางบรรพตี (พระอุมา) อยู่ด้านล่างเสาประตูสลักเป็นลวดลายเทพธิดา ลายก้ามปู และรูปทวารบาล บริเวณหน้าบันเป็นอิฐประดับลวดลายปูนปั้นและมีปรางค์บริวาร 4 องค์ ล้อมอยู่ทั้ง 4 ทิศ ล้อมรอบด้วยสระน้ำ 3 สระ
ที่ตั้ง : ต.ระแงง อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์