ประวัติความเป็นมา
“ผ้าทอไทเลย” เป็นผ้าทอเอกลักษณ์ของ จ. เลย แหล่งทอผ้าอยู่ที่บ้านก้างปลา ซึ่งการทอผ้าเป็นอาชีพดั้งเดิมของชาวบ้านก้างปลา ในอดีตชาวบ้านได้ปลูกฝ้ายเป็นอาชีพ เพื่อนำดอกฝ้ายมาทำเป็นเส้นด้ายไว้ใช้ทอผ้าสำหรับ
ตัดเย็บเสื้อผ้าใส่เองมาหลายชั่วอายุคน จนเกิดความรู้ ประสบการณ์ เกิดการพัฒนาความสามารถ สะสมเป็นองค์ความรู้สืบทอดกันมาสู่ลูกหลาน จากการทอผ้าใช้เองในครัวเรือน ชาวบ้านก้างปลาได้พัฒนาฝีมือการทอให้มี
ลวดลายต่าง ๆ ที่ประณีตสวยงาม เป็นที่ต้องตาต้องใจแก่ผู้พบเห็น เกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนผ้าทอกันเองทั้งในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้าน จนในปัจจุบันผ้าทอพื้นเมืองของบ้านก้างปลาได้กลายเป็นสินค้าที่สร้างรายได้ที่มั่นคง
ให้กับชาวบ้านหลายครัวเรือน
เอกลักษณ์ความโดดเด่นของผ้า
ผ้าทอมือพื้นเมืองบ้านก้างปลา เป็นผ้าที่ทอจากดอกฝ้าย แล้วคิดค้นลวดลายที่แปลก สวยงาม ประณีต มีการสอดดิ้นเงินดิ้นทองในเนื้อผ้า สร้างความตระการตาและเกิดคุณค่าแห่งการเป็นภูมิปัญญา เนื้อผ้ามีความละเอียด
ฝีมือการทอสม่ำเสมอ เรียบเนียน ไม่ระคายผิว สีสันสวยงาม สีไม่ตก ไม่ยืด ไม่หด และยังดูแลรักษา ทำความสะอาดง่ายอีกด้วย กลุ่มทอผ้าไทเลยบ้านก้างปลา เป็นผู้ผลิตผ้าทอพื้นเมืองบ้านก้างปลาที่มีชื่อเสียงของ จ. เลย
ที่ตั้งและการติดต่อ
แหล่งผลิต : กลุ่มทอผ้าไทเลยบ้านก้างปลา
ที่ตั้ง : 177 ม. 9 ต. ชัยพฤกษ์ อ. เมือง จ. เลย
โทรศัพท์ : โทร. 08 9984 3704
ลักษณะและลวดลายการทอหรือการผลิต
ขั้นตอนการผลิต
การทอผ้าในอดีต ชาวบ้านใช้ดอกฝ้ายมาทำเป็นเส้นด้าย ใช้เปลือกไม้ ผลไม้ ครั่ง ทำเป็นสีสำหรับย้อมผ้า อุปกรณ์ที่ใช้ทอผ้า คือ กี่กระตุก ทำจากไม้ในหมู่บ้าน มีขั้นตอนดังนี้
- ขั้นตอนการเพาะปลูกฝ้ายสำหรับนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต
- ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวดอกฝ้าย
- ขั้นตอนการทำการอิ้วและดีดฝ้าย
- ขั้นตอนการทำหลอดฝ้าย
- ขั้นตอนการเข็นฝ้าย
6.ขั้นตอนการย้อมสีฝ้าย
- ขั้นตอนการทอฝ้าย การแต่งลวดลาย โดยใช้กี่ดั้งเดิม
- ขั้นตอนการตัดเย็บ แปรรูป
โดยเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมการผลิตผ้าทอพื้นเมือง ตั้งแต่ขั้นการจัดการกับดอกฝ้ายซึ่งเป็นวัตถุดิบ การนำฝ้ายมาอิ้ว การล้อฝ้าย การเข็นฝ้าย ไปจนถึงขั้นตอนการทอ เรียกว่าได้ชมทั้งกระบวนการเลยทีเดียว
ผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงหรือโดดเด่น
นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังจะได้เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ติดไม้ติดมือกลับไปเป็นของฝาก ซึ่งมีทั้งผ้าผืน เสื้อผ้าบุรุษ เสื้อผ้าสตรี ผ้าขาวม้า และกระเป๋า